จะเห็นได้ว่าในบ้านเราตอนนี้ วงการอุตสาหกรรมได้เติบโตไปมาก มีเครื่องไม้ เครื่องมือเกี่ยวกับลม ผลิตออกมาให้เราได้ใช้แบบทันสมัยมากกว่าเมื่อก่อนเยอะ ซึ่งถ้าเราลองมองย้อนกลับไปเมื่อสัก 10-20 ปีที่แล้ว ตลาดอุตสาหกรรมบ้านเรายังมีไม่กี่แห่งที่เป็นจุดศูนย์กลางใหญ่ๆ เท่านั้นเช่นภายในกรุงเทพเอง หรือแถวๆ ชานเมืองไม่กี่จังหวัด และส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในบ้านเราด้วยกันทั้งนั้น
มาสมัยนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมากเหมือนกับพลิกฝ่ามือค่ะ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีมันไปแบบก้าวกระโดดเลยก็ว่าได้ เวลาเรามีปัญหาอะไร ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี่ต้องบอกว่าเหนื่อยแน่นอนค่ะ เพราะต้องถามคนนั้นทีคนนี้ที ข้อมูลก็หายาก แต่สมัยนี้มันไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว อยากได้อะไรก็แค่เปิดมือถือต่อเน็ต 4G จากนั้นก็เข้า Google ค่ะพิมพ์ความต้องการของเราลงไป แป๊บเดียวพี่ Google แกจัดให้แบบเต็มเลย ไล่จากสากกะเบือยันเรือรบ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าในเน็ตมันจะมีข้อมูล(ที่ถูกต้อง)ให้เราหมดทุกอย่าง บางสิ่งบางอย่างนั้นเราต้องนำมาพิจารณาอีกครั้งค่ะว่า ควรที่จะนำมาอ้างอิง หรือใช้งานได้ เช่นกันค่ะกับเรื่องที่จะนำมาเล่าให้ท่านฟังในบทความนี้ นั่นก็คือเรื่องราวของ กระบอกลม นิวเมติก ที่ใช้ในระบบอัตโนมัติ และในระบบนิวเมติกส์ทั่วไปนั่นเอง
วิธีการเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติก ด้วยขั้นตอนง่ายๆ แต่ได้ประโยชน์
การเลือก กระบอกลม หรือ กระบอกสูบนิวเมติก นั้นจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนในเรื่องของข้อมูลกว่าการเลือกซื้อสินค้าประเภทอื่นๆ อยู่นิดหนึ่ง นั่นก็คือ คุณต้องรู้จักกับ การทำงานของกระบอกลมนิวเมติก กันก่อนว่ามันทำงานอย่างไร เหมาะกับงานประเภทไหน ดูแลรักษาต้องทำอย่างไรบ้าง ตลอดจนในเรื่องของราคาค่าใช้จ่ายอีกด้วย หากเราไม่มีความรู้ความเข้าใจตรงนี้ อาจจะทำให้เราเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติก มาใช้งานแบบไม่เต็มประสิทธิภาพได้ค่ะ
หากต้องการซื้อกระบอกลมนิวเมติก เราต้องคำนึงถึงอะไรเป็นอันดับแรก
ก่อนที่เราจะมี การเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติก มาใช้งานนั้น เราจะต้องมีการคำนวณหาค่าต่างๆ ให้มีความถูกต้องก่อนว่า ประเภทงานของเราที่ต้องการนำกระบอกลมนิวเมติกมาใช้งานนั้นมีลักษณะอย่างไร ความต้องการของกระบอกลมนิวเมติก โดยค่าพื้นฐานต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งการคำนวณค่าต่างๆ ทางร้านเด่นศักดาของเราก็จะมาแนะนำหลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการคำนวณเพื่อนำไปใช้หา ขนาดของกระบอกลมนิวเมติก กันค่ะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการคำนวณค่าต่างๆ จะมีอยู่ด้วยกันดังนี้คือ:
- น้ำหนักของโหลดที่จะนำกระบอกลมนิวเมติกไปติดตั้งเพื่อใช้งาน
- ความเร็วของงานที่ต้องการได้จากกระบอกลมนิวเมติกของเรา
- แรงดันอากาศที่ต้องการใช้งาน
1 – น้ำหนักของโหลด
น้ำหนักของโหลดนี้ โดยทั่วไปจะถูกกำหนด หรือตั้งค่าไว้จากการออกแบบระบบนิวเมติกของเราอยู่แล้ว ซึ่งในการใช้งานจริงนั้นคุณจะต้องมีกระบอกลมนิวเมติก ที่สามารถให้แรงได้มากกว่าโหลด ถึงจะทำให้โหลดสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะนิยมให้แรงอัดที่ได้จากกระบอกลมนิวเมติกมีมากค่ากว่าโหลดประมาณ 25% ขึ้นไปค่ะ เพื่อชดเชยแรงเสียดทาน (ประมาณ 3-20%) ในระหว่างการทำงาน
2 – ความเร็วของงาน
ความเร็วของงานนี้จะถูกกำหนดหรือออกแบบไว้แล้วเหมือนกับน้ำหนักของโหลด โดยความเร็วนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันคือ
- ความเร็วต่ำ (ประมาณ 4 นิ้วต่อวินาที) - เราควรใช้กระบอกลมนิวเมติกที่สามารถผลิตแรงดันอากาศได้มากกว่าโหลด 25% เป็นอย่างน้อย
- ความเร็วปานกลาง (ประมาณ 4-6 นิ้วต่อวินาที) - เราควรใช้กระบอกลมนิวเมติกที่สามารถผลิตแรงดันอากาศได้มากกว่าโหลด 50% หรือมากกว่า
- ความเร็วสูง (มากกว่า 16 นิ้วต่อวินาที) - เราควรใช้กระบอกลมนิวเมติกที่สามารถผลิตแรงดันอากาศได้มากกว่าโหลด 2 เท่า
3 - แรงดันอากาศ
โดยมาตรฐานแล้ว ระบบนิวเมติกของเราจะต้องมีการออกแบบและติดตั้งให้มีการจ่าย/ไหลของอากาศที่สม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าการทำงานจะอยู่ในช่วงที่มีแรงดันต่ำสุดก็ตาม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วของงานให้เป็นไปตามค่าที่ออกแบบไว้ของระบบ การใช้กระบอกลมนิวเมติกที่จ่ายแรงดันสูงเกินไปอาจจะทำให้ซีลชำรุดเสียหายได้ อีกทั้งยังสร้างแรงกดบนกระบอกสูบด้วยเช่นกัน แรงดันที่ไม่สม่ำเสมอจะทำให้ระบบของท่านทำงานได้ผิดพลาดได้ง่ายอีกด้วยค่ะ
เข้าสู่ขั้นตอน การคำนวณหาแรง และขนาดของลูกสูบกัน
เมื่อเราทราบรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับน้ำหนักโหลด ความเร็ว และแรงดันอากาศแล้ว ต่อไปก็จะเป็นในส่วนของการคำนวณหาค่าขนาดลูกสูบของกระบอกลมนิวเมติกกัน โดยจะยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ หากเรามีโหลดประมาณ 100 lbs, ความเร็วที่ 8 นิ้วต่อวินาที และแรงดันต่ำสุดที่ 60 psi เราจะคำนวณอย่างไร? โอเคค่ะ ถ้าท่านสังเกตจะเห็นว่าค่าความเร็วนั้นจะอยู่ในช่วงกลางๆ ดังนั้นแรงดันที่จ่ายออกจากกระบอกลมของเรา ควรจะมีค่ามากกว่า 50% ของโหลดหรือประมาณ 150lbs ดังนั้นจึงจะได้ว่า 150/60=2.5(พื้นที่)
จากสูตร: เมื่อ F(แรงอัดของกระบอกลม) = P(ความดันอากาศ/ความดันลมอัด) x A (พื้นที่ลูกสูบที่รับความดัน)
หรือ 150 = 60 x 2.5
ดังนั้นเราควรใช้ กระบอกลมนิวเมติก หรือ กระบอกสูบนิวเมติก ที่มีขนาดของลูกสูบ 2 นิ้วค่ะ นอกจากนี้เราต้องพิจารณาถึงช่วงชัก เส้นสปริงและขนาดโดยรวมของกระบอกลมนิวเมติกนั้นๆ ด้วย