การต่อวงจรควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบนิวเมติก ถือว่าได้เป็นงานโปรดและงานอดิเรกของใครหลายๆคน เนื่องจากว่านอกจากเราจะได้วงจรที่ใช้งานได้จริงแล้ว เรายังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังทำให้ผู้ต่อวงจรนั้น เกิดทักษะและความรู้ความเข้าใจ(ประสบการณ์) ในระบบนิวเมติกส์เพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ
สำหรับการต่อวงวงจรเพื่อใช้ควบคุมอุปกรณ์จะมีทั้งง่ายและยาก ขึ้นอยู่กับว่าระบบหรือวงจรที่เราวางไว้นั้นมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นต่อวงวรในครั้งแรกๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องออกแบบระบบหรือวงจรให้ดูซับซ้อนเกินไปค่ะ เพราะนอกจากจะทำให้ความผิดพลาดมีความเป็นไปได้สูงแล้ว ยังอาจจะทำให้เราสูญเสียเวลา ค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นอีกด้วย ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดคือ ทดลองกับวงจรที่ง่ายที่สุดก่อน (DIY) จากนั้นค่อย Scale ความยากขึ้นไปทีส่วนค่ะ
ในบทความนี้แอดมินจะมานำเสนอ DIY การต่อวงจรเพื่อใช้งานกระบอกลมในระบบนิวเมติกส์แบบเล็กๆกันค่ะ ซึ่งวงจรที่ว่านี้จะไม่ใช่วงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด แต่จะเป็นวงจรของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราสามารถนำเข้ามาต่อร่วมด้วย ซึ่งจะมีอุปกรณ์อะไรบ้างนั้น เราไปดูกันต่อเลยค่ะ
[รูปภาพตัวอย่างวงจรของอุปกรณ์ทั้งหมด]
บางท่านเมื่อได้เห็นวงจรในภาพด้านบนแล้ว คงจะร้องอ๋อ และสามารถเข้าใจได้เลยในทันทีว่า "การต่อใช้งานกระบอกลม" มันไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถเราเลย เพียงแต่ท่านจะต้องมีการออกแบบ และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัว(ภายในวงจร) ให้มีการทำงานที่สอดคล้องกันให้มากที่สุดแค่นั้น เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้ระบบนิวเมติกส์ที่มีกระบอกลมเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของวงจรได้แล้วล่ะค่ะ
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับ DIY นี้
- กระบอกลมนิวเมติกส์แบบทำงานสองทาง(หรือทางเดียวก็ได้) แนะนำให้ใช้แบบขนาดมาตรฐาน โดยขนาดแกนหรือสเปคอื่นๆ ควรขึ้นอยู่กับโหลดงานเป็นหลัก
- ข้อต่อปรับความเร็วลม (Fitting Speed Control)
- โซลินอยด์วาล์วลมที่มีจำนวนช่องจ่ายลมเท่ากับหรือมากกว่าช่องรับลมของกระบอกลม เช่น กระบอกลมแบบ Double-acting ที่ต้องการลม 2 ทาง ท่านจะต้องใช้โซลินอยด์วาล์วลมแบบ 3/2 ทางขึ้นไป (ส่วนใหญ่ใช้ 5/2 ทางขึ้นไปค่ะ)
- Push switch 3/2 ทาง
- ข้อต่อลมจำพวก PE หรือคุณภาพใกล้เคียง
- แหล่งจ่ายลม(ปั๊มลม) + ปรับปรุงคุณภาพลมอัด(ชุดกรองลม)
ข้อสังเกตุและข้อควรระมัดระวัง
- จุดเชื่อมต่อต่างๆ จะต้องมีการขันที่แน่นหนา ไม่หลวมหรือตึงมือจนเกินไป
- ขนาดของเกลียวข้อต่อลม จะต้องเท่ากับหรือสามารถต่อเข้ากับโซลินอยด์วาล์วลม หรือกระบอกลมได้อย่างเหมาะสม ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป
- กระบอกลมที่นิยมนำมาทดสอบคือ กระบอกสูบขนาดมาตรฐาน SC/SU Series
- วาล์วลมสำหรับใช้ทดสอบ สามาถใช้ได้ทั้ง วาล์วลม AirTac 4A, 4M Namur และ 4V Series
- อุปกรณ์ช่วยปรับปรุงคุณภาพลมอัด(ออปชั่นเสริม) เช่น ชุดกรองลมดักน้ำ+ปรับแรงดันลม smc หรืออีกยี่ห้อหนึ่งที่คุณภาพสูงใกล้เคียงกันคือ ชุดควบคุมและปรับคุณภาพลมอัด AirTac หรือท่านจะใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้เช่นกันค่ะ
- ในส่วนของปั๊มลม ท่านสามารถเลือกยี่ห้อใดก็ได้ค่ะ เช่น PUMA เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญคือ ปั๊มลมจะต้องสามารถจ่ายลมได้มากกว่าแรงดันที่กระบอกลมต้องการในสถานะปรกติ
Videos สาธิตการต่อกระบอกลมที่น่าสนใจ
ส่งท้าย DIY
การต่อวงจรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือว่างานนิวเมติกส์ ถือว่าเป็นเวลาที่สามารถสร้างความสุขให้กับใครหลายๆคนได้ บางงานเราอาจจะสามารถนำไปใช้งานจริงๆได้ก็มีค่ะ และสุดท้ายปลายทางแล้ว สิ่งสำคัญที่เราได้รับกลับมาก็คือ ทั้งคุ้มและภูมิใจนั่นเองค่ะ