ปัญหาหนึ่งสำหรับคนที่กำลังมองหา หรือต้องการซื้อตัวกรองลมดักน้ำใหม่ให้กับระบบนิวเมติก หรืออุปกรณ์ผลิตลมประเภทต่างๆ เช่น ปั๊มลม นอกจากไม่ทราบว่าจะซื้อรุ่นหรือยี่ห้อไหนดีแล้ว ยังอาจจะเจอกับปัญหาเกี่ยวกับ รายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมอื่นๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ไม่ทราบว่าจะซื้อเป็นชุดหรือว่าแยกชุดดีค่ะ เนื่องจากพบว่าในปัจจุบันตัวกรองลมส่วนใหญ่ที่ขายบนท้องตลาด หรือในออนไลน์ จะขายยกชุด และมีน้อยมากที่จะแยกขาย
ก่อนที่เราจะไปลงรายละเอียด ในเรื่องของเทคนิคการเลือกซื้อตัวกรองลมเอามาใช้งานสักตัว ผู้เขียนอยากจะแนะนำเคล็ดลับ และข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับบางท่านที่อยากได้ตัวกรองดักน้ำแบบระบุยี่ห้อ หรือว่าไม่รู้ว่าจะเลือกยี่ห้อไหนดี ถึงจะเหมาะสมกับรูปแบบงานของเรา ให้ท่านเข้าไปอ่านเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ที่ เลือกซื้อตัวกรองลม ดักน้ำ ยี่ห้อไหนดี แต่ถ้าท่านไม่เน้นในเรื่องดังกล่าว ก็ข้ามาอ่านเนื้อหาในบทความนี้ต่อได้เลยค่ะ
รูปตัวอย่าง กรองดักน้ำ รุ่น AFC-2000
ความจริงแล้ว ชุดกรองลม แบบดักน้ำนั้นจะมีให้เลือกอยู่ด้วยกันหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น แบบ 3 ตัวเรียง(F.R.L) และ แบบ 2 ตัวเรียง (FR.L)
รูปตัวอย่าง แบบ 3 ตัวเรียง F.R.L : AC Series ของ SMC
รูปตัวอย่าง แบบ 2 ตัวเรียง FR.L : AC Series ของ SMC
โดยแบบสามตัวเรียงนั้นจะมี ตัวกรอง(Air Filter) + ตัวปรับแรงดันลม(Regulator) และตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่น(Lubricator) และส่วนแบบ 2 ตัวเรียงนั้นจะมีตัวกรอง + ตัวปรับแรงดันลม มาให้เป็นชุดเดียวกัน โดยประเภท 2 ตัวเรียงนี้ เราสามารถที่จะซื้อตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นมาติดตั้งเพิ่มเติมทีหลังได้ค่ะ
เมื่อเราทราบข้อมูลพื้นฐานของตัวกรองแบบต่างๆไปแล้ว ที่นี้เราก็จะมาดูกันต่อค่ะว่า งานของเรานั้น ต้องการใช้หรือเหมาะสมกับตัวกรองประเภทใด? โดยท่านสามารถพิจารณาจากความจำเป็นในด้านต่างๆ ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้เลยค่ะ:
1). ถ้าท่านไม่อยากเสียเวลาในการ ปรับแต่งอุปกรณ์หรือต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน และต้องการอุปกรณ์มาเป็นชุดเดียวกันเลย แนะนำให้ใช้ แบบดักน้ำ 3 ตัวเรียง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า หรือพูดง่ายๆ อีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อท่านซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวมาแล้ว ท่านสามารถเอาไปติดตั้งใช้งานได้เลยในทันที ไม่ต้องไปกังวลในปัญหาข้างต้น หรือหากท่านต้องการทราบว่าตัวกรองชนิดนี้ดีอย่างไร ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ตัวกรองลมดักน้ำ สำหรับปั๊มลม แบบ F.R.L ดีกว่าอย่างไร?
รูปตัวอย่าง ตัวกรองลมดักน้ำ F.R.L
2). ในกรณีต้องการซื้อชุดปรับคุณภาพลมดังกล่าวไปติดตั้งเพิ่มเติมลงเข้ากับปั้มลม ท่านต้องตรวจสอบสเปคของปั๊มลมของท่านด้วยว่าแรงดันของปั๊มลมนั้น สามารถใช้งานกับตัวกรองที่จะซื้อไปตัวใหม่นี้หรือไม่ ส่วนยี่ห้อที่นิยมนำไปติดตั้งควบคู่กับปั๊มลมนั้นก็หนีไม่พ้นตัวกรองลมยี่ห้อ smc ค่ะ ซึ่งถ้าพูดถึงในเรื่องของคุณภาพของแบรนด์ smc นั้นเชื่อได้ว่าหลายๆท่านน่าจะเคยมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว ทั้งในเรื่องของคุณภาพในการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง หรือแม้กระทั่งกรองไอน้ำที่อาจจะสะสมอยู่ในอากาศ ไม่ให้เข้าไปเกาะจนกลายเป็นหยดน้ำในปั๊มลมของเราค่ะ ดังนั้นหากต้องการยืดอายุให้กับปั๊มลมอันเป็นสุดที่รัก แนะนำว่ายอมเพิ่มค่าใช้จ่ายขึ้นสักนิด เพื่อความคุ้มค่าในระยะยาวดีกว่าค่ะ
รูปตัวอย่าง ตัวกรองลมดักน้ำของ SMC
3). ถ้าท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน หรือการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวในแต่ละส่วน เช่น ตัวกรองลม,ตัวปรับแรงดันลม และตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่น ว่าแต่ละตัวมีหน้าที่การทำงานอย่างไร ซื้อรุ่นไหนมาใช้คู่กับรุ่นไหน หรือสามารถนำรุ่นไหนมาทดแทนรุ่นไหนได้บ้าง หรือต้องการลดค่าใช้จ่าย ท่านก็สามารถซื้อแบบแยกชุด โดยต่างยี่ห้อหรือต่างรุ่นมาใช้หรือต่อร่วมกันได้ค่ะ
4). ถ้าท่านต้องการลมอัดที่สะอาดหมดจรด แนะนำให้เลือกที่เป็นแบบ auto drain ด้วย (หรืออาจจะเลือกแบบมีออโต้เดรน มาติดตั้งแยกต่างหากก็ได้เช่นกัน) เพราะออโต้เดรนนี้จะทำให้ท่านสะดวกในการถ่ายน้ำหรือระบายน้ำ ออกจากตัวกรองลมได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งลมที่ได้ก็มีความสะอาดเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วออโต้เดรนนี้ จะนิยมซื้อไปติดตั้งเพิ่มเข้ากับตัวกรองที่ใช้คู่กับปั๊มลม สำหรับงานพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น
รูปตัวอย่าง ตัวกรองแบบมีออโต้เดรน
5). หากท่านไม่แน่ใจว่าต้องการใช้งานตัวกรอง+ปรับคุณภาพลมแบบไหนดี ท่านสามารถสอบถามข้อมูลจากตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ให้บริการที่ท่านต้องการที่จะซื้อสินค้าด้วยเพิ่มเติมได้เช่นกันค่ะ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะยินดีตอบคำถามลูกค้าทุกท่านอยู่แล้วค่ะ
สำหรับท่านใดที่ต้องการดูตัวอย่างการใช้งาน และการต่ออุปกรณ์ต่างๆของตัวกรองลม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้ ซึ่งในวิดีโอจะอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการต่ออุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวกรองลม ตัวปรับแรงดันลม และตัวจ่ายน้ำมันเข้าด้วยกัน ตลอดจนมีการสาธิตการใช้งานในเบื้องต้นให้ดูอีกด้วย
นี่ก็เป็นเทคนิคและวิธีการแก้ไขปัญหา สำหรับการซื้อตัวกรองลมแบบเป็นชุดและแยกชุด ให้กับผู้ที่ลังเลในข้อมูล ซึ่งผู้เขียนหวังว่าข้อมูลดังกล่าว คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยน่ะค่ะ