CATEGORIES
MENU

การต่อโซลินอยด์วาล์ว ร่วมกับระบบควบคุม แบบง่ายๆ

หลังจากที่หลายวันก่อนแอดมินได้ลงเนื้อหา DIY เกี่ยวกับ การต่อโซลินอยด์วาล์ว เข้ากับแหล่งจ่ายไฟ VDC แบบง่ายๆ ไปแล้ว มาในบทความนี้ก็จะขอต่ออีกสักหนึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับ การต่อโซลินอยด์วาล์ว เหมือนเดิมค่ะ แต่จะไปเน้นในเรื่องของ การต่อโซลินอยด์วาล์วลม/น้ำ ร่วมกับระบบควบคุม(แบบง่ายๆ) ซึ่งระบบควบคุมที่ทางแอดมินจะยกตัวอย่างในที่นี้ จะเป็นชุดควบคุมที่หลายๆท่าน(ที่มีความรู้เรื่องวงจรอิเล็กทรอนิกส์) สามารถทำเองได้ ตลอดจนน้องๆ นักศึกษา ที่ต้องการหาอะไรมาทำเล่นในช่วงปิดเทอมค่ะ

DIY นี้ให้อะไรท่านได้บ้าง?

ก่อนอื่น บางท่านอาจจะมีคำถามค่ะว่า เฮ้ย! แล้วถ้าทำแล้ว เราจะได้อะไรบ้างล่ะ หรือสามารถนำไปใช้กับงานประเภทไหนได้บ้าง เอาเป็นว่าให้ท่านเก็บคำถามเอาไว้ก่อนค่ะ เพราะถ้าท่านได้ลองทำตาม DIY นี้เสร็จสรรพทุกขั้นตอนแล้วล่ะก็ แอดมินเชื่อแน่ว่า ท่านจะต้องเกิดไอเดียหรือสามารถนำ เทคนิคการต่อโซลินอยด์วาล์ว จาก diy นี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน หรือในชีวิตประจำวันของท่านได้อย่างแน่นอน

เอาล่ะค่ะ ทีนี้ก็จะเป็นในเรื่องของประโยชน์ของ DIY นี้กันว่ามีอะไรบ้าง:

  1. ท่านสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้
  2. สามารถต่อยอดไอเดียสู่งานอื่นที่ใกล้เคียง หรือสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  3. เสริมสร้างทักษะในการต่อวงจรไฟฟ้า หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในเรื่องดังกล่าว
  4. เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงานของอุปกรณ์ และวงจรไฟฟ้าแบบเบื้องต้นเพิ่มมากยิ่งขึ้น

DIY นี้ท่านจะต้องมีอะไรบ้าง?

  1. อุปนิสัยในการสร้างอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือสิ่งของเครื่องใช้ด้วยตัวเอง (DIY)
  2. เป้าหมายเพื่อที่จะนำ DIY ไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง
  3. เวลาว่างอย่างน้อยประมาณ 1-2 ชั่วโมง (สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านวงจรไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว อาจจะน้อยกว่านี้ หรือประมาณ 5-15 นาที)

อุปกรณ์ที่จะต้องเตรียม

อุปกรณ์สำหรับต่อโซลินอยด์วาล์ว

  1. โซลินอยด์วาล์ว 12VDC หรือ 24VDC จะเป็น โซลินอยด์วาล์วแบบ 2/2 ทาง หรือ โซลินอยด์วาล์วแบบ 3/2 ทาง ก็ได้เช่นกันค่ะ แต่ถ้าต้องการให้ง่ายต่อการใช้งาน ราคาไม่แพง หรือแค่ทดสอบเท่านั้น(อาจจะเหมาะสำหรับมือใหม่บางท่าน) แนะนำให้ใช้วาล์วแบบ 2/2 ทางค่ะ
  2. แหล่งจ่ายไฟ 5VDC (สำหรับจ่ายให้กับวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์), 12VDC หรือ 24VDC (สำหรับจ่ายให้กับโซลินอยด์วาล์ว) แบบ 2 ย่านแรงดันไฟในชุดเดียวกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
  3. บอร์ดสำหรับทดสอบวงจรแบบอิเล็กทรอนิกส์สีขาว (Breadboard หรือ Circuit Test Board) ราคา 100-300 บาท จำนวน 1 ชุด
  4. ทรานซีสเตอร์แบบ NPN (ตัวละ 1-5 บาท) ส่วนใหญ่จะเป็นตัวสีดำ มี 3 ขา จำนวน 2 ตัว (ใช้ 1 ตัว และสำรองอีก 1 ตัว)
  5. Flyback Diode เอาไว้สำหรับป้องกันไฟย้อนกลับขั้ว และควบคุมแรงดันไฟให้คงที่ จำนวน 2 ตัว
  6. Relay ที่มีคอยล์ไฟฟ้า 12VDC แบบ NO จำนวน 1 ตัว (โดย คอยล์ของรีเลย์/Relay จะต้องสอดคล้องกับ คอยล์ของโซลินอยด์วาล์ว ด้วยค่ะ เช่น Relay คอยล์ 12VDC จะต้องใช้กับโซลินอยด์ที่มีคอยล์แบบ 12VDC แบบนี้เป็นต้น)
  7. LED สีเขียว เอาไว้สำหรับแจ้งเตือน เมื่อวงจรควบคุมอยู่ในสถานะทำงาน หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตัวละ 3-5 บาท กินไฟ 3-5 โวลท์
  8. สายไฟสำหรับต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ แนะนำให้เป็นสายไฟที่สามารถเสียบเข้ากับ Breadboard ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสายไฟเส้นเล็กสีดำหรือแดง เป็นต้น ความยาวสัก 1 เมตร แล้วเอาตัดย่อยอีกทีค่ะ
  9. อุปกรณ์เซ็นเซอร์แบบต่างๆ เช่น PROBE สำหรับวัดอุณหภูมิ หรือสัญญาณไฟกระแสตรงจากอุปกรณ์อื่นๆเช่น สัญญาณจากคอมพิวเตอร์, นาฬิกาตั้งเวลาแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจ่ายไฟออกแบบ 3/5 VDC ค่ะ (เอาไว้กระตุ้นให้ ทรานซีสเตอร์แบบ NPN ทำงาน)
  10. คีมปากจิ้งจก คัตเตอร์ตัดสายไฟ หรือเครื่องมือสำหรับต่อวงจร (ถ้ามีจะดีมากค่ะ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ท่านทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น)

การต่อวงจรทั้งหมด

การต่อวงจรทั้งหมดร่วมกับโซลินอยด์วาล์ว

DIํY การต่อโซลินอยด์วาล์วดังกล่าว สามารถใช้งานจริงได้หรือไม่?

จริงๆแล้ว หากท่านได้ทดสอบต่อวงจรต่างๆ ตามรูปภาพด้านบน และทดสอบการทำงานดูแล้ว(และสามารถทำงานได้จริง) ท่านก็จะเกิดไอเดียขึ้นมาในหัวทันทีค่ะ ว่าในขั้นตอนต่อไปนั้น ท่านจะเอา DIY นี้ไปต่อยอดกับงานแบบไหนได้บ้าง ซึ่งถ้าหากท่านที่ยังไม่มีไอเดียก็สามารถดูประเภทของงานแบบง่ายๆ ที่แอดมินเอามาฝากตามรายการด้านล่างนี้ได้ค่ะ

  • ระบบเปิด-ปิดการจ่ายน้ำ ให้กับต้นไม้ในสวนหย่อม(ระบบรดน้ำต้นไม้), แปลงผัก, สวนผลไม้ขนาดเล็ก-ใหญ่, บ่อเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ เป็นต้น
  • ระบบเปิด-ปิดการจ่ายน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิให้กับหลังคาสำหรับบ้านเรือนทั่วไป(อันนี้ส่วนใหญ่จะใช้ควบคู่กับสปริงเกอร์)
  • ระบบเปิด-ปิดการจ่ายน้ำ เพื่อชำระสิ่งสกปรกให้กับสถานที่, อุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ เช่น ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์, โถปัสสาวะในห้าง หรือตามปั๊มน้ำมันใหญ่ๆ ทั่วไป (อาจจะมีชุดเซ็นเซอร์แบบอินฟาเรด เข้ามาเกี่ยวข้องหรือใช้งานในชุดควบคุมด้วย)

สำหรับท่านใดที่ต้องการ ควบคุมการทำงานโซลินอยด์วาล์ว ด้วยชุดควบคุมที่เป็นรีโมท หรือแบบใกล้เคียง ก็สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ในวิดีโอนี้ค่ะ:

สรุปส่งท้าย

เอาล่ะค่ะ! สุดท้ายสำหรับ DIY นี้ก็เป็นเพียงแค่เทคนิค การต่อโซลินอยด์วาล์ว เข้ากับชุดควบคุมไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ แบบง่ายๆเท่านั้น หากท่านใดต้องการความยืดหยุ่นหรือฟังก์ชั่นเพิ่มเติม ท่านก็สามารถดัดแปลงได้เช่นกันค่ะ