ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ระบบนิวเมติก แบบทั่วไป
คุณสมบัติของระบบนิวเมติก เมื่อเปรียบเทียบกับไฮดรอลิกนั้น จะมีหลายอย่างที่ใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากระบบนิวเมติกและระบบไฮดรอลิกนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งเป็นลักษณะของ พลังงานของไหล เหมือนกัน เมื่อนำเอาระบบนิวเมติกเปรียบเทียบกับระบบโฮดรอลิก เราจะทราบถึงข้อแตกต่างกันของสองระบบได้ดังนี้:
- ความดันใช้งานของลมอัดในระบบนิวเมติกมีค่าอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 บาร์ แต่ถ้าต้องการความดันใช้งานสูงกว่านี้ก็ได้แต่ไม่เกิน 10 บาร์ ซึ่งน้อยกว่าความดันใช้งานของระบบไฮดรอลิกมาก จึงเหมาะกับการใช้การงานเบาๆ เท่านั้น
- ลมอัดมีการยุบตัวมากกว่าน้ำมันในระบบไฮดรอลิก ดังนั้นเมื่อมีการหยุดค้างตำแหน่งในระหว่างระยะชักจึงไม่ดีเท่าที่ควร
- ความต้านทานการไหลของลมอัดในท่อทางส่งมีค่าน้อยกว่าความต้านทานการไหลของน้ำมันในระบบไฮดรอลิก จึงสามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว
- ระบบนิวแมติกมีความสะอาดมากกว่าระบบไฮดรอลิกมาก เพราะระบบไฮดรอลิกมีการรั่วไหลของน้ำมันเกิดขึ้น และอาจเกิดอันตรายจากการติดไฟของน้ำมันได้
- โดยทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมมักจะใช้ลมอัดใช้งาน ประเภทอื่นอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเป็นการสะดวกที่จะนำเอาระบบนิวแมติกมาใช้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเดินท่อทางส่งลมอัดมีราคาถูกกว่า ถ้าต้องการจะนำเอาระบบไฮดรอลิกมาใช้ในโรงงาน จะต้องหาปั๊มไฮดรอลิกมาใช้งาน และค่าใช้จ่ายในการเดินท่อทางส่งน้ำมันไฮดรอลิกมีราคาสูงมาก
- ระบบนิวแมติกสามารถใช้งานในขณะที่อุณหภิมของลมอัดสูงได้ถึง 160 องศา โดยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและอุปกรณ์ทำงาน ส่วนในระบบไฮดรอลิก น้ำมันที่ใช้ในการส่งถ่ายจะมีอุณหภูมิสูงไม่เกิน 70 องศา
- ระบบนิวเมติกส์นั้นมีอุปกรณ์นิวเมติกที่หลากหลายกว่า ทำงานได้ยืดหยุ่นมากกว่าระบบหรืออุปกรณ์ไฮโดรลิคมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทหรือรูปแบบการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบด้วย เช่น กระบอกลม สำหรับงานนิวเมติกส์ จะเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการควบคุมการทำงาน ส่วนกระบอกสูบในงานไฮโดรลิคจะเป็นอุปกรณ์สำหรับงานหนักๆ เช่น งานขุด เจาะถนนการจราจร เป็นต้น ซึ่งกระบอกสูบไฮโดรลิคนั้นจะต้องมีมนุษย์คอยควบคุมการทำงาน
เปรียบเทียบระบบนิวเมติก กับระบบหรือการทำงานแบบอื่นๆ
เนื่องจากในงานอุตสาหกรรม การบังคับการทำงานด้วยระบบกลไก ระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฮดรอลิก และระบบนิวแมติก ซึ่งแต่ละระบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยเราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่าง:
ตาราง PNEUMATIC - INTRO -1
รายละเอียดของระบบ | บังคับการทำงานด้วยระบบ | |||||
กลไก | ไฟฟ้า / อิเล็กทรอนิกส์ | ไฮดรอลิก | นิวแมติก | |||
ระบบขับเคลื่อน | โครงสร้าง | ค่อนข้างซับซ้อน | ค่อนข้างซับซ้อน | ค่อนข้างซับซ้อน | ง่าย | |
ความสามารถ | ดีมาก | ดีมาก | ดี | ดี แต่ต้องระวัง | ||
เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง | ง่าย | ง่าย | ยาก | ง่าย | ||
เคลื่อนที่แบบหมุน | ง่าย | ง่าย | ค่อนข้างยาก | ค่อนข้างยาก | ||
กำลังขับ | น้อย - มาก | น้อย - มาก | กลาง-มาก | น้อย - กลาง | ||
การปรับกำลังขับ | ยาก | ยาก | ง่าย | ง่าย | ||
การบำรุงรักษา | ง่าย | ต้องใช้เทคโนโลยี | ค่อนข้างง่าย | ง่าย | ||
ความเร็วคงที่ | ดีมาก | ดี | ดี | ไม่คงที่ความดันต่ำ | ||
การรับภาระเกิน กำหนด (overload) | ค่อนข้างยาก | ยาก | ค่อนข้างยาก | ง่าย | ||
การเลือกรูปแบบ การติดตั้ง | น้อย | กลาง | มาก | มากกว่า | ||
การใช้อุปกรณ์ช่วยทำงาน เมื่อขาดกระแสไฟฟ้า | ค่อนข้างจะ เป็นไปได้ | ยาก | เป็นไปได้ | เป็นไปได้ | ||
ระบบการบังคับ | การส่งสัญญาณ | ยาก | ง่าย | ค่อนข้างยาก | ง่าย | |
การป้องกันการติดไฟ | ดี | ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย | ดี |