สำหรับใครที่สนใจและต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดควบคุมและปรับปรุงคุณภาพลมอัด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับ สัญลักษณ์, ความหมาย และรูปแบบการใช้งาน ในบทความนี้เราก็จะมาทำความรู้จักให้ลึกลงไปอีก(สักเล็กน้อย)เกี่ยวกับ ชุดควบคุม ปรับปรุงคุณภาพลมอัด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชุดกรองลม บริการลมอัด กันค่ะ
หน้าที่ของชุดควบคุมปรับปรุงคุณภาพลมอัด และความจำเป็นต่อการใช้งาน
คำถามที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัยนั่นก็คือ อุปกรณ์ที่เรียกกันว่า ชุดปรับปรุงคุณภาพลมอัด ที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ แล้วมันมีประโยชน์อย่างไรต่อระบบลมอัด/ระบบนิวเมติกส์ล่ะ?
หน้าที่ของชุดปรับปรุงคุณภาพลมอัด ก็จะตรงตัวตามชื่อของอุปกรณ์นี้เลยค่ะ นั่นก็คือ ทำหน้าที่คอยจัดการ ปรับปรุงคุณภาพของลมอัด ให้มีความสะอาด บริสุทธิ์ และมีความปลอดภัยสูง สามารถที่จะนำไปแจกจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่ในระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่เพียงแค่นั้นค่ะ ชุดปรับปรุงคุณภาพลมอัด นี้ยังสามารถที่จะช่วยลดความฝืดเคืองการเคลื่อนที่ของลมในอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในระบบของเรา และสามารถป้องกันสนิมที่เกิดจากละออง หรือไอน้ำที่ปนมากับลมอัดได้อีกด้วย
อีกคำถามหนึ่งที่คิดว่าอะไรหลายๆ ท่านอาจจะยังสงสัยคือ ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์นี้อยู่ในระบบของเราได้หรือไม่? หรือถ้าไม่มี มันจะส่งผลเสียและเป็นอย่างไรบ้าง? เอาเป็นว่าไปดูคำตอบกันค่ะ
คำตอบก็คือ:
(1) ถ้าหากท่าน/ระบบของท่าน "ไม่ต้องการหรือเน้นคุณภาพของลมอัด" แน่นอนว่าท่านไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์นี้ก็ได้ค่ะ แต่ท่านต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุปกรณ์หลายๆ ตัวจะมีอายุการใช้งานสั้นลง ระบบท่อหรือวาล์วสามารถเกิดสนิมได้ง่าย ตลอดจนประสิทธิภาพโดยจะลดน้อยลงไปตามอายุการใช้งานค่ะ
(2) ถ้าหากท่านไม่อยากมีปัญหาในเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น เป็นไปได้ ให้ท่านยอมเพิ่มค่าใช้จ่าย(เพียงเล็กน้อย) ซื้ออุปกรณ์นี้มาติดตั้งลงในระบบ(ในขั้นตอนการเตรียมลมอัด)ของท่าน น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสม และคุ้มค่าในอนาคตที่สุดค่ะ
การใช้งานชุดปรับปรุงคุณภาพลม ยากหรือไม่ เหมาะกับมือใหม่?
ในด้านการใช้งานชุดปรับปรุงคุณภาพนี้ หลายๆท่านที่ยังเป็นมือใหม่หรือเพิ่งเริ่มต้นนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาติดตั้งใช้งานอาจจะมีความกังวลว่า มันใช้งานยากหรือเปล่า ต้องดูแลรักษายังไงบ้าง ขั้นตอนต่างๆมันดูลำบากเกินไปหรือไม่ อันนี้ต้องบอกได้เลยค่ะว่า ท่านทิ้งความกังวลเหล่านี้ไปได้เลย เนื่องจากว่ายุคนี้มันยุค 4G ค่ะ ข้อมูลต่างๆที่จะเข้ามาช่วยให้เราใช้งานอุปกรณ์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้นนั้น หาได้ง่ายมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตก็ดี หรือว่าข้อมูลเพิ่มเติมจาก ผู้ให้บริการชุดกรองลม ปรับปรุงคุณภาพลมอัด ที่เราใช้บริการก็ดีค่ะ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ มือเก่า หรือมือเก๋า ก็สามารถใช้อุปกรณ์นี้ได้ทั้งนั้นค่ะ
เอาล่ะค่ะ เมื่อเราทราบประโยชน์และความจำเป็นของการนำชุดควบคุมและปรับปรุงคุณภาพลมอัดนี้มาใช้งานแล้ว ต่อไปเราก็จะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับข้อมูลอื่นๆ กันต่ออีกสักเล็กน้อย นั่นก็คือเราจะดูต่อไปอีกค่ะว่าจริงๆแล้ว ส่วนประกอบของชุดปรับปรุงคุณภาพลมอัด ในทางเทคนิค/โดยทั่วไปนั้นจะมีอะไรให้เราได้ใช้งานหรือปรับแต่งกันบ้าง
ส่วนประกอบของชุดควบคุมและปรับปรุงคุณภาพลมอัด มีอะไรบ้าง?
ถ้าท่านสังเกตจะพบว่า ที่ผ่านมานั้นเราจะพูดกันในเรื่องของ "ชุด" เป็นหลักซึ่งความหมายของคำว่าชุดในที่นี้ แน่นอนว่าจะต้องเกิดจาก การรวมตัวของอุปกรณ์ย่อยหลายๆ ตัวเข้าไว้ด้วยกัน(Boxset/Module) ซึ่งอุปกรณ์ย่อยที่หมายถึงนั้นจะมีด้วยกันดังต่อไปนี้:
- ชุดกรองอากาศ (Filter) ทำหน้าที่ กรองเอาสิ่งสกปรกออกจากลมอัด เช่น ฝุ่นละออง,ไอน้ำ,ไอน้ำมัน,เศษโลหะ/สนิม โดยจะมีอุปกรณ์ย่อยที่เรียกว่า ไส้กรอง มารับหน้าที่นี้ตรงๆ ค่ะ
- ชุดควบคุมความดัน/ปรับแรงดัน (Pressure Regulator) ทำหน้าที่ปรับ/ควบคุมแรงดันลมให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ในหลายๆ รุ่น เราสามารถปรับแรงดันได้ที่สปริงของชุดได้เลย ชุดปรับแรงดัน regulator ที่ดีจะต้องสามารถปรับแรงดันได้อย่างยืดหยุ่น(ในระบบนิวเมติกส์ส่วนใหญ่จะใช้แรงดันระหว่าง 4 - 6 บาร์) และจะต้องมีรูสำหรับระบายลมทิ้งด้วย(กรณีแรงดันลมอัดเกินกำหนด/สูงเกินไป)
- เกจวัดความดัน (Pressure Guage) ทำหน้าที่แสดงระดับแรงดันของลมอัดที่จะนำไปจ่ายให้กับระบบในขั้นตอนต่อไป
- อุปกรณ์สำหรับจ่ายน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) ทำหน้าที่ผสมน้ำมันหล่อลื่น(ที่อยู่ในลูกถ้วย)เข้ากับลมอัด โดยการผสมนี้จะอยู่ในลักษณะของการดูดน้ำมันเข้าไปบริเวณคอคอดแล้วจ่าย/ฉีดน้ำมันหล่อลื่นที่อยู่ในรูปแบบของฝอยละออง
นอกจากนี้ ชุดควบคุมคุณภาพลมที่ดี จะต้องมีส่วนที่ช่วยให้ผู้ใช้งานระบายน้ำ(Drain)ออกจากชุดดังกล่าวด้วย ซึ่งในปัจจุบันเราจะพบว่า ชุดปรับคุณภาพลมอัดที่วางขายทั่วไป จะรองรับการระบายน้ำได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ระบายแบบอัตโนมัติ แบบกึ่งอัตโนมัติ และแบบระบายด้วยมือ
สัญลักษณ์ต่างๆ ของชุดควบคุมและปรับปรุงคุณภาพลมอัด(Air Service Unit)
[รูปสัญลักษณ์และส่วนต่างๆ ของชุดปรับแรงดันลม]
[รูปสัญลักษณ์ทั่วไปของชุดปรับปรุงคุณภาพลมอัด]
[รูปเส้นทางการไหลของลม(Air Flow Direction) ในชุดปรับปรุงคุณภาพลมอัด]