CATEGORIES
MENU

ตัวกรองลมดักน้ำ F.R.L สำหรับระบบนิวเมติก เลือกยี่ห้อไหนดี

เคยไหมค่ะที่วันหนึ่ง ท่านอยากจะซื้อตัวกรองแบบดักน้ำมาใช้งาน แล้วท่านเกิดความสงสัยว่า ควรที่จะซื้อยี่ห้อไหนดี? หรือราคาเท่าไหร่ดี? เอาเป็นว่าถ้าหากท่านอ่านบทความนี้เสร็จ ผู้เขียนเชื่อแน่ว่าท่านอาจจะตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

ในรายละเอียดของบทความนี้แอดมินจะขอนำตัวกรองลมยี่ห้อต่างๆ มาทำการเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละยี่ห้อ ว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง โดยยี่ห้อต่างๆ ที่จะนำมาเปรียบเทียบให้กันฟังในวันนี้ ก็จะมีด้วยกันดังต่อไปนี้ค่ะ:

  • ตัวกรอง+ปรับคุณภาพลม ยี่ห้อแอร์แทค (AirTac)
  • ตัวกรอง+ปรับคุณภาพลม ยี่ห้อเอสเอ็มซี (SMC)
  • ตัวกรอง+ปรับคุณภาพลมอัด ยี่ห้อ Festo
  • ตัวกรอง+ปรับคุณภาพลมอัด ยี่ห้อ CKD
  • ตัวกรอง+ปรับคุณภาพลมอัด ยี่ห้อ THB

AirTac F.R.L Unit ยืดหยุ่น ครบ จบในชุดเดียว

ชุดกรองลมแอร์แทค

รูปตัวอย่าง ตัวกรองแบบดักน้ำของแบรนด์แอร์แทค

ตัวกรองลม AirTac (ผลิตจากประเทศไต้หวัน) นั้นถือได้ว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ชาวนิวเมติกในบ้านเรา ให้การยอมรับในประสิทธิภาพโดยรวมเป็นอย่างดี ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้างนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตามรายละเอียดด้านล่างค่ะ

ข้อดี:

  • หาซื้อง่าย มีผู้ให้บริการหลายเจ้าให้เลือกซื้อ (รวมทั้งร้าน Densakda ของเราเช่นกันค่ะ)
  • เหมาะสำหรับนำไปใช้งานในระบบลมอัด(ระบบนิวเมติกส์) หรือแบบใช้งานทั่วไป
  • มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละรูปแบบงานที่แตกต่างกันออกไป
  • อุปกรณ์ส่วนใหญ่มีความยืดหยุ่นสูงในเรื่องของการติดตั้ง
  • ประสิทธิภาพในการกรองลมถือว่าทำได้ดีค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับราคา
  • สามารถเลือกซื้อแบบแยก หรือแบบชุดเดียวกันได้
  • ใช้เวลาในการออกแบบ ติดตั้ง และดูแลบำรุงรักษาน้อย
  • อุปกรณ์โดยรวมมีความคงทนสูง และมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างยาวนาน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบติดตั้ง และบำรุงดูแลรักษาในระยะยาวของผู้ใช้งานด้วย
  • อุปกรณ์แต่ละตัวมีคู่มือการออกแบบและติดตั้ง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี

ข้อเสีย:

  • ราคาของอุปกรณ์ในบางรุ่น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแปรผัน เล็กน้อยขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการแต่ละเจ้า เพื่อความมั่นใจ ก่อนที่ท่านจะเลือกซื้อตัวกรองลมยี่ห้อ AirTac นี้ ท่านควรตรวจสอบในเรื่องของราคาของอุปกรณ์ก่อนทุกครั้ง
  • ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องการความสะอาดของลมอัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงว่า ท่านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยเปล่าประโยชน์นั่นเอง แต่ถ้าท่านเน้นในเรื่องของคุณภาพของลมอัดมาก่อนเสมอ ตัวกรองลมยี่ห้อนี้สามารถตอบโจทย์ให้กับระบบของท่านได้เป็นอย่างดีแน่นอน

SMC F.R.L Unit คุณภาพคับแก้ว เน้นใช้งานยาวๆ

ชุดกรองลมดักน้ำ ยี่ห้อ SMC

*รูปตัวอย่าง ตัวกรอง ปรับคุณภาพลม SMC

ชุดกรองลม SMC (ผลิตในประเทศญี่ปุ่น) ถือว่าเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานในบ้านเราเหมือนกับแบรนด์ AirTac เนื่องจากว่าประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น ไม่น้อยหน้ากับแบรนด์แอร์แทคค่ะ แต่แตกต่างที่รูปแบบการนำไปใช้งานบางประเภทเท่านั้น ส่วนข้อดีและข้อเสียจะมีด้วยกันดังนี้:

ข้อดี:

  • เป็นตัวกรองลมดักน้ำที่มีคุณภาพสูงอีกยี่ห้อหนึ่งไม่แพ้แบรนด์ AirTac
  • สามารถกรองลม ไอน้ำ สารเคมี หรือเศษฝุ่นละอองที่ลอยปะปนอยู่ในลมอัดได้เป็นอย่างดี
  • สามารถนำไปใช้กับระบบนิวเมติกส์ ได้เหมือนกับ ยี่ห้อแอร์แทค
  • อุปกรณ์ในหลายๆรุ่น จะมีการออกแบบที่สวยงาม
  • รองรับการติดตั้งและใช้งานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
  • ตัวถังในหลายๆรุ่น จะผลิตด้วยวัสดุที่เป็นอลูมิเนียม
  • สามารถเลือกซื้อแบบแยกชุด หรือเป็นชุดเดียวกันได้
  • มีหลายรุ่นหลายราคาให้เลือกใช้งานกันอย่างจุใจ
  • ในบ้านเรานั้นจะมีผู้ให้บริการอยู่หลายเจ้า รวมถึงร้าน Desakda ของเราด้วยเช่นกันค่ะ
  • มีคู่มือสำหรับช่วยในการติดตั้งสำหรับอุปกรณ์แต่ละตัว หมดปัญหาสำหรับผู้ใช้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งานในครั้งแรก

ข้อเสีย:

  • ไม่เหมาะกับการนำไปใช้กับงานที่มีขนาดเล็กและไม่เน้นคุณภาพของลมอัด
  • ราคาของอุปกรณ์มีความแปรผันอยู่ตลอดเวลา (สำหรับในบางรุ่นเท่านั้น)

Festo Air Service Unit ราคาสบายกระเป๋า เน้นใช้งานทั่วไป

ชุดกรองลมดักน้ำ ยี่ห้อ Festo

*รูปตัวอย่าง ตัวกรองลมอัด ปรับคุณภาพลมยี่ห้อ Festo

ถ้าหากท่านต้องการตัวกรอง ปรับลมดักน้ำในราคาย่อมเยา ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้แล้วล่ะก็ ตัวกรองลม Festo นี้ถือได้ว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกันค่ะ ส่วนข้อดีข้อเสียจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันต่อเลยค่ะ

ข้อดี:

  • อุปกรณ์ในหลายรุ่น จะมีราคาที่ค่อนข้างถูกกว่ายี่ห้อ AirTac และ SMC
  • เหมาะสมกับการนำไปใช้งานทั่วไป และระบบนิวเมติกส์ขนาดกลาง
  • ตัวถังส่วนใหญ่จะเป็นแบบพลาสติก และแบบโลหะผสม
  • มีผู้แทนจำหน่ายที่คอยบริการลูกค้าหลายโซนทั่วโลก เหมือนแบรนด์แอร์แทค และ แบรนด์ SMC
  • มีคู่มือสำหรับช่วยในการติดตั้ง หรือข้อมูลอื่นๆ ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานดาวน์โหลดไปศึกษาเพิ่มเติมได้ (Festo Catalog)
  • ประสิทธิภาพที่ได้คุ้มค่า เมื่อเทียบกับราคาของอุปกรณ์

ข้อเสีย:

  • อุปกรณ์มีรุ่น/Type ให้เลือกน้อยกว่าแบบ AirTac หรือ SMC
  • ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในระบบนิวเมติก หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่

CKD Air Service Unit ยืดหยุ่น มีหลายรุ่น เน้นงานขนาดกลาง-ใหญ่ คู่มือครบ

ชุดกรองลมดักน้ำยี่ห้อ CKD

*รูปตัวอย่าง ตัวกรอง ปรับคุณภาพลมอัด CKD

แบรนด์ CKD ถือได้ว่าเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ผลิตอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องมือสำหรับงานนิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์ ให้ลูกค้าได้เลือกใช้งานกันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานทั่วไป หรือว่าเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แบรนด์ CKD นี้ถือได้ว่าค่อนข้างที่จะครอบคลุมค่ะ สาขาใหญ่ของแบรนด์ซีเคดีนี้จะอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ข้อดีข้อเสียจะมีด้วยกันดังนี้

ข้อดี:

  • มีอุปกรณ์ให้เลือกหลายรุ่นหลายประเภท (ใกล้เคียงกับยี่ห้อแอร์แทค และ SMC)
  • เหมาะสำหรับนำไปใช้งานทั่วไป และระบบนิวเมติกส์ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
  • มีคู่มือการใช้งานแบบ CAD, PDF ให้ลูกค้าได้ดาวน์โหลดไปศึกษาเพิ่มเติมด้วย (CDK F.R.L Catalog)
  • ในหลายๆรุ่นของแบรนด์นี้ จะมีอุปกรณ์เสริมและตัวช่วยในการติดตั้ง (Bracket)
  • ในบ้านเรามีตัวแทนจำหน่ายชุดกรอยี่ห้อนี้ด้วยเช่นกัน

ข้อเสีย:

  • ราคาจะมีความแปรผันอยู่ตลอดเวลา (ควรเช็คราคากับผู้ให้บริการก่อนการสั่งซื้อทุกครั้ง)

THB F.R.L Unit ใช้งานง่าย ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นได้อย่างสะดวก

ชุดกรองลมดักน้ำ ยี่ห้อ THB

*รูปตัวอย่าง ตัวกรอง F.R.L ยี่ห้อ THB

แบรนด์ THB (ผู้ผลิตจะอยู่ที่ประเทศไต้หวัน) เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันในบ้านเรามาค่อนข้างยาวนานค่ะ ซึ่งสินค้าหลักๆของแบรนด์นี้จะเน้นไปทางด้าน "อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับระบบลมอัด หรือระบบนิวเมติกซะเป็นส่วนใหญ่" ไม่ว่าจะเป็น ตัวกรองลม โซลินอยด์วาล์ว ข้อต่อลมแบบต่างๆ เกจปรับแรงดัน เป็นต้น

ในส่วนข้อดีและข้อเสีย จะมีด้วยกันดังนี้:

ข้อดี:

  • มีหลายรุ่นให้เลือกใช้งานไม่ว่าจะเป็นแบบ Mini Type (20 Series), 50 Series, ตัวกรองดักน้ำแบบ High Flow (70/90 Series) และในรุ่น 80 Series(Standard globalmodular) เป็นต้น
  • ในหลายๆรุ่นจะเป็น ชุดกรองที่มีขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย และมีราคาไม่แพง เช่นรุ่น 20 Series เป็นต้น
  • มีอุปกรณ์ที่ช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงในการติดตั้ง (Bracket)
  • สามารถนำไปใช้กับงานทั่วไปหรืองานหนักๆ (Heavy Duty) ในโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี (ในรุ่น 70/90 Series)
  • มีให้เลือกทั้งแบบแยกชุด (Modular) และเป็นชุดเดียวกัน

ข้อเสีย:

  • มีคู่มือให้ดาวน์โหลดมาศึกษาเพิ่มเติมน้อย
  • ราคาอาจจะมีการแปรผันอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ(ผู้แทนจำหน่ายย่อย) ของแต่ละเจ้าด้วย

สุดท้ายแล้ว เราควรเลือกยี่ห้อไหนดี ?

  • ถ้าท่านเน้นในเรื่องของ ประสิทธิภาพการกรองลมแบบสูงสุด ติดตั้งง่าย ออปชั่นเยอะ สามารถเทียบรุ่นได้ และนำไปใช้กับระบบนิวเมติกในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางถึงใหญ่ หรือกับงานเฉพาะทาง แนะนำให้เลือกตัวกรองยี่ห้อ AirTac, SMC หรือ CKD ค่ะ เพราะทั้ง 3 แบรนด์นี้จะตอบโจทย์ในด้านอุตสาหกรรมมากกว่ายี่ห้ออื่น
  • ถ้าเน้นการใช้งานทั่วไป หรือในระบบนิวเมติกส์ขนาดเล็ก ประสิทธิภาพปานกลาง แนะนำให้ลองพิจารณายี่ห้อ THB, Festo ดูก่อนค่ะ

สุดท้ายนี้เอาเป็นว่า ก่อนการเลือกซื้อตัวกรองลมดักน้ำยี่ห้อใดๆ ก็แล้วแต่ ให้ท่านตรวจสอบรูปแบบการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบของท่านเสียก่อนว่าเหมาะสมกับยี่ห้อใด เพื่อที่ท่านจะสามารถดึงเอาประสิทธิภาพของตัวกรองมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในอนาคตค่ะ