CATEGORIES
MENU

ความสำคัญของวัสดุที่นำมาผลิตวาล์วโซลินอยด์

วงการนิวเมติกส์และไฮโดรลิค เป็นอีกวงการหนึ่งที่แข่งขันในกันในเรื่องของออปชั่น ความสะดวกในการใช้งาน ตลอดจนประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าผู้ผลิตหลายๆเจ้าจึงต้องคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ของตนให้มีความทันสมัย และที่สำคัญจะต้องมีองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้วข้างต้นด้วย และนอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ผู้ผลิตอุปกรณ์นิวเมติกได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากก็คือ วัสดุที่นำมาผลิต นั่นเองค่ะ

เชื่อหรือไม่ว่า วัสดุที่ใช้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบนิวเมติกส์ เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่ง ที่สามารถชี้ให้เราได้ทราบว่า อุปกรณ์ชนิดนั้นเหมาะสำหรับหรือใช้ในงานประเภทใด มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด หรือจะต้องดูแลบำรุงรักษาอย่างไรบ้าง ใช่แล้วค่ะ ถ้าหากเราทราบถึงข้อมูลเหล่านี้แล้ว มันก็จะทำให้เราสามารถนำอุปกรณ์มาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ด้วยเช่นกัน

วัสดุของโซลินอยด์วาล์ว ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ผลิตวาล์วได้ให้ความสำคัญ เพราะว่าวัสดุที่ใช้ผลิตวาล์ว เป็นอีกจุดสำคัญอันดับต้นๆ(รองจากราคา) ที่ผู้ใช้งานวาล์วจะนำมาพิจารณาก่อนเลือกซื้อวาล์ว สังเกตุว่าถ้าเจ้าไหนมีการเลือกวัสดุที่ดี มีคุณภาพ ตอบโจทย์ในงานใดๆ แบบเฉพาะทางได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว โอกาสที่จะทำให้วาล์วของตนเองได้รับความนิยม ก็มีสูงมากขั้นไปด้วย

ถ้าเรากลับมามองในฐานะของผู้ใช้งานวาล์ว หลายๆ ท่านอาจจะดูในเรื่องของวัสดุของวาล์วก่อนเลือกมาใช้งานทุกครั้ง ยิ่งงานเฉพาะกิจ/เฉพาะทางด้วยแล้ว ก็อาจจะทำให้ต้องพิถีพิถันกับเรื่องนี้เป็นพิเศษค่ะ เคยถามตัวเองมั้ยว่าทำไม?

คำถามต่อมาก็คือ แล้ววัสดุของวาล์วที่ว่า มันมีอะไรบ้าง? แล้วเราควรเลือกแบบไหนดี? เอาเป็นว่ามาอ่านสิ่งที่จะกล่าวต่อไปด้านล่างนี้ก่อนค่ะ แล้วท่านจะทราบเองค่ะว่า วัสดุแบบไหนที่โดนใจงานของเรา ลุยโลด...

วัสดุแบบทองเหลือง(Brass)

วาล์วที่ผลิตด้วยวัสดุทองเหลือง จะสามารถสังเกตุได้ง่ายๆคือ ตัวถังหรือบอดี้จะเป็นทองเหลืองค่ะ เฮ้ยๆ โดยบอดี้ภายในของวาล์วนี้จะเป็นการผสานกันระหว่าง ทองเหลืองและสแตนเลส จุดที่สังเกตุอีกอย่างหนึ่งของวาล์วทองเหลืองคือ ซีลวาล์วค่ะ ส่วนใหญ่แล้วซีลจะมีคุณสมบัติพิเศษเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกับวาล์วที่ผลิตด้วยวัสดุอื่น โดยซีลที่ว่านี้จะมีด้วยกันหลายชนิดได้แก่ NBR(เป็นซีลมาตรฐานของวาล์ว), EPDM,FKM และ PTFE ซึ่ง 2 อย่างหลังนี้จะเหมาะสำหรับงานลมอัดโดยเฉพาะ แต่แบบ NBR และ EPDM นั้นจะสำหรับใช้งานทั่วไปค่ะ

รูปแบบการใช้งาน: ใช้งานทั่วไปและระบบลมอัด ตลอดจนงานในอุตสาหกรรม

วาล์วทองเหลืองที่มีคอยล์ไฟฟ้า สำหรับใช้งานทั่วไป

วาล์วตัวถังทองเหลือง สำหรับใช้งานในอุตสาหกรรม และงานทั่วไป

*รูปตัวอย่างวาล์วทองเหลือง

วัสดุแบบสแตนเลส(Stainless Steel)

ข้อดีของสแตนเลสคือ ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อนและสารเคมีได้ดีค่ะ ดังนั้น วาล์วที่ผลิตด้วยสแตนเลส จะเหมาะสำหรับนำไปใช้กับพื้นที่ที่เสี่ยงกับสิ่งปฎิกูล สารเคมี หรือสารปนเปื้อนสูงๆ มีทั้งแบบ AISI 304 และ AISI 316 ให้ใช้งาน(แบบ Coaxial) จุดเด่นของวาล์วสแตนเลสคือรองรับอัตราการไหลได้สูงพอสมควร ทนต่ออุณหภูมิและแรงดันสูงได้ดีเยี่ยมอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้งานกันก็คือ แบบ Pilot เหมาะสำหรับใช้กับของไหลได้หลายประเภท(ลม,น้ำ,แก๊ส,น้ำมัน) ไม่ว่าในงานทั่วไป หรือในอุตหสาหกรรมก็ได้เช่นกัน ในเรื่องของแรงดันที่สามารถทนได้นั้น วาล์วสแตนเลสแบบ Pilot นี้สามารถทนได้ตั้งแต่ 0.5-2 บาร์ขึ้นอยู่กับการออกแบบวาล์วด้วยค่ะ

รูปแบบของซีลวาล์ว: FKM, NBR, EPDM, FFKM, PTFE และ HNBR (ดูประเภทของซีลเพิ่มเติมได้ที่นี่)

วาล์วแบบสแตนเลส ใช้งานง่าย แข็งแรง ทนทานสูง

*รูปตัวอย่างวาล์วสแตนเลส

วัสดุแบบทองเหลือง(Bronze)

วาล์วแบบ Bronze นั้นจะคล้ายๆกับวาล์วทองเหลืองค่ะ โครงสร้างภายในจะผสมกันระหว่างทองเหลือง AISI 302, 304, 430F และสแตนเลส จุดเด่นของวาล์ว bronze คือ ทนต่อการสึกหรอได้ดี โครงสร้างตัวถังจะแข็งแรงและทนทานกว่าแบบทองเหลืองทั่วไป และราคาจะถูกว่าแบบสแตนเลส ในเรื่องของซีล แบบ bronze นี้จะมีซีลให้เลือกแบบ PTFE เป็นหลัก ส่วนการนำไปใช้งานนั้น สามารถใช้ได้กับน้ำ ลม น้ำมัน แก๊ส ตลอดจนงานที่เกี่ยวกับอุณหภูมิสูงเช่น ระบบไอน้ำ/สตรีม หรืองานระบบท่อจ่ายน้ำมัน เป็นต้น (โดยส่วนใหญ่วาล์วประเภทนี้จะทนแรงดันได้มากถึง 20 บาร์)

วาล์วที่ผลิตด้วยทองเหลือง bronze สามารถทนต่อการกัดกร่อน และโครงสร้างมีความทนทาน

bronze value ทองเหลือง

*รูปตัวอย่างวาล์วที่ผลิตด้วยทองเหลือง(Bronze)

วัสดุแบบพลาสติก(Plastic)

วาล์วอีกประเภทหนึ่งที่คิดว่าหลายๆท่านรู้จักกันดีอยู่แล้วคือ วาล์วที่ผลิตด้วยพลาสติก โดยจุดเด่นของวาล์วประเภทนี้คือ ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย มีน้ำหนักเบา และใช้งานง่ายกว่าวาล์วประเภทอื่น ที่ได้กล่าวมาก่อนแล้วข้างต้น สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นใช้ติดตั้งในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า(เช่นเครื่องสักผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องทำอาหาร) หรืองานที่เกี่ยวกับการจ่ายของไหลขนาดกลาง ยกตัวอย่างเช่น ระบบรดน้ำต้นไม้ งานด้านเกษตรกรรม เป็นต้น

วาล์วพลาสติกที่ขายตามตลาดในบ้านเรา จะมีให้เลือกแบบ PPS และ PEEK ค่ะ โดย PPS นั้นจะเป็นวาล์วที่สามารถทนต่อกรดหรือด่างได้ดี ใช้กับงานได้หลายรูปแบบ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้กับงานด้านยานยนต์ได้อีกด้วย ส่วนแบบ PPS นั้น จะเหมาะกับงานลมอัดขนาดใหญ่เป็นหลัก ในส่วนข้อเสียของวาล์วพลาสติกคือ ทนต่อแรงดันและอุณหภูมิได้ต่ำ(สูงสุด 10 บาร์) เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นที่เป็นโลหะ

* ตัวอย่างการใช้งานคือ ใช้จ่ายน้ำ(หรือของไหลที่มีความหนืดต่ำ) และแก๊สที่มีน้ำหนักเบา

วาล์วพลาสติกที่นำมาใช้กับงานทั่วไป มีราคาถูก และน้ำหนักเบา

วาล์วน้ำที่ทำจากพลาสติกสีดำ

*รูปตัวอย่างวาล์วที่ทำจากพลาสติก

สรุปตัวอย่างการเลือกใช้วัสดุของวาล์ว

ทีนี้เรามาสรุปกันค่ะว่า ถ้าเรามีรูปแบบงานอยู่ในใจแล้ว อยากจะเลือกวัสดุวาล์วให้มันเหมาะสมกับการใช้งาน เราควรจะเลือกอย่างไร:

  • งานจ่ายของไหลทั่วไป ที่มีแรงดันหรืออุณหภูมิไม่สูงมาก ให้เลือกแบบพลาสติก(PPS) หรือแบบทองเหลือง(Brass) ก็น่าจะเพียงพอแล้วค่ะ
  • งานที่ต้องนำไปติดตั้งในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อสิ่งสกปรก หรือสารเคมี ให้เลือก ทองเหลือง หรือสแตนเลส เป็นอย่างน้อย
  • งานอุตสาหกรรมขนาดกลาง-ใหญ่ ให้เลือกแบบสแตนเลส หรือ bronze ค่ะ

สุดท้ายนี้เอาเป็นว่า ก่อนจะซื้อวาล์วมาใช้งาน ควรสนใจในเรื่องของ วัสดุที่ผลิตวาล์ว กันสักนิดน่ะค่ะ เพราะอย่างน้อยก็คือ เราจะได้ไม่ปวดหัวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตค่ะ